วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พัฒนาการของวิชาชีพครู

การพัฒนาครูสู่ครูมืออาชีพ

     ประเทศไทยมีความผูกพันอยู่กับศาสนาพุทธมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ดังนั้น ครูผู้สอนในอดีตคือพระภิกษุเป็นส่วนใหญ่และโรงเรียนได้จัดตั้งขึ้นในวัดและเวลาต่อมาได้มีบุคคลคณะหนึ่งได้เข้ามาในประเทศและได้นำรูปแบบในการจัดตั้งโรงเรียนพร้อมทั้งนำการสอนมาด้วย คือ มิชชันนารี่ ซึ่งเป็นครูชาวต่างประเทศ จึงทำให้ประเทศไทยต้องมีการปฎิรูปการศึกษาและปฎิรูปโดยตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู ให้ผู้ทำหน้าที่ครูเป็นข้าราชการ มาจนกระทั่งในปี พ.2488 ได้มีการตราพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 นับได้ว่าครูมีความมั่นคงในอาชีพ พระราชบัญญัติครูดังกล่าวได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลายต่อหลายฉบับ และได้มีดารตราพระราชบัญญัติสภาครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.. 2546 โดยได้บัญญัติให้อาชีพครูเป็นวิชาชีพ และในปีต่อมาได้ตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
.. 2547 เป็นพระราชบัญญัติที่ทำให้ครูมีความรุ่งโรจน์แห่งวิชาชีพ
ความหมายของพัฒนาการ
      คำว่า ‘‘พัฒนาการ’’ ในความหมายของคำที่สามารถมองเห็นได้ในลักษณะของรูปธรรมมีนักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้
      วีระ  ดร.บุญทรง  อุบล ฝ่ายวิชาการ สำนักพิมพ์ อุดมศึกษา (2543 : 199)ได้กล่าวว่า พัฒนาการ(Development) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่เป็นระบบระเบียบ สามารถคาดคะเนได้ตามสมควน                เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้าของบุคคล ในขณะเดียวกัน คณะบุคคลดังกล่าว ได้กล่าวข้างต้นไว้ว่า นักจิตวิทยาอีกหลายท่านได้ใช้ความหมายของพัฒนาการในทำนองเดียวกัน สรุปได้ว่า พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี มีคุณภาพ (Quality) และการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ (Function)                            ของส่วนต่างๆ ของร่างกาย พัฒนาการเป็นขบวนการที่ซับซ้อน ผู้เขียนมีความเห็นว่า พัฒนาการ หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ก้าวหน้าขึ้นอย่างเป็นขั้นตอนจากระยะหนึ่งไปสู่อีกระยะหนึ่ง               โดยสามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน
       ดังนั้น  จึงสรุปได้ว่า พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เป็นระบบระเบียบในทิศทางที่ดีขึ้น               ก้าวหน้าขึ้นของบุคคล โดยสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
      
 พัฒนาการกับความรู้ในทางจิตวิทยา
        การที่จะทำให้ผู้เรียนได้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของการพัฒนาการได้เป็นอย่างดีนั้น จะต้องมีการเชื่อมโยงความรู้เดิมของผู้เรียนในทางจิตวิทยา ดังนี้
วีระ ดร.บุญทรง อุบล) ฝ่ายวิชาการ สำนักพิมพ์อุดมศึกษา. 199-200)
         1.ความเจริญงอกงาม
คำว่า พัฒนาการและความเจริญงอกงามนั้นมีการนำมาปะปนกันอยู่ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านที่ดีขึ้น เพิ่มขึ้น เจริญขึ้น ติดต่อกันไปเรื่อยๆ จากระยะหนึ่งไปสู่อีกระยะหนึ่ง สำหรับความเจริญงอกงาม (Growth) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นทางด้านปริมาณ (Quanlity) เป็นการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของร่างกายเป็นการเพิ่มเกี่ยวกับจำนวนและขนาด
       
 2.ลักษณะเฉพาะของพัฒนาการ
พัฒนาการเป็นการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น ก้าวหน้าขึ้นอย่างเป็นระบบระเบียบมีลักษณะเฉพาะของแต่ละชนิด/ประเภทของการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ลักษณะเฉพาะของพัฒนาการ ดังนี้
        2.1 พัฒนาการจะเกิดในลักษณะที่ต่อเนื่องกัน และดำเนินการตามลำดับขั้น พัฒนาการเกิดทุกช่วงของชีวิต พัฒนาการระยะหนึ่งจะเป็นรากฐานของพัฒนาการระยะต่อไป
       2.2 พัฒนาการจะเป็นไปตามฉบับของตัวเอง จะมีลักษณะเป็นไปตามฉบับของอินทรีย์แต่ละชนิดลักษณะสังคมพัฒนาการจะเหมือนกันในเด็กทุกคนแต่อัตาพัฒนาการจะแตกต่างกัน
       2.3 พัฒนาการเกิดขึ้นในอัตราที่ไม่เท่ากัน พัฒนาการความเจริญเติบโดของเด็กแต่ละคนมีอัตราที่แตกต่างกัน เมื่อในวัยเด็ก อัตราพัฒนาทางด้านร่างกายย่อมมีมากกว่าเด็กโต
       2.4 พัฒนาการจะเกิดทิศทางเฉพาะ พัฒนาการจะเป็นไปตามแนวทางจากศรีษะลงไปสู่ปลายเท้าเด็กจะชันคอได้ก่อน และการเจริญเติบโตจะเริ่มจากแกนกลางของลำตัวไปสู่ส่วนย่อย
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า พัฒนาการกับความรู้ในทางจิตวิทยา คือ การเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้ในศาสตร์เฉพาะทางในเรื่องของพัฒนาการที่สามารถมองเห็นความแตกต่างในแต่ละขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น ก้าวหน้าขึ้น

ยุคพัฒนาการทำของวิชาชีพครู
        การเริ่มต้นและการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับครูในเบื้องต้นเป็นเพียงผู้สอนหวังผู้บอกความรู้              ซึ่งไม่ได้มีความมั่นคงอะไรในกิจกรรมที่ กระทั้งได้มีพัฒนาการอันยาวนานมาเป็นวิชาชีพครู ดังนั้น เพื่อนให้เกิดความรู้ ความเข้าในลำกับขั้นตอนของการพัฒนาการของวิชาชีพครู ผู้เขียนจึงแบ่งออกเป็นยุค (Era)                     เรียกว่า ยุคพัฒนาการของวิชาชีพครู ดังต่อไปนี้
     
      1.ครูยุคการศึกษาไทยโบราณ (ก่อน พ.ศ. 1730-2413)
ชนชาติไทยมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน การดำเนินชีวิตที่ให้คนไทยอยู่ดีมีสุข อยู่รอดปลอดภัย  และวัฒนาถาวรมาเป็นลำดับ ที่เรียกว่า วัฒนธรรมและประเพณี ได้ทำการสะสมไว้แล้วจึงนำมาบอกต่อๆ กับคนรุ่นหลัง ที่เรียกว่า การจัดการศึกษา
      สมัยอาณาจักรน่านเจ้า ซึ่งเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในการดำเนินการจัดการศึกษาไทย ในประวัติศาสตร์จีนตอนหนึ่งได้กล่าวถึงชนชาติไทยไว้ว่า เมื่อครั้งอาศัยอยู่บริเวณมณฑลยูนาน เรียกว่า อาณาจักรน่านเจ้า ไทยเป็นชนชาติโบราณที่มีการศึกษาดีชาติหนึ่ง บ้านเมืองมีความเจริญมาก มีการจัดระเบียบการปกครอง ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ มีการสั่งสอนอบรมและถ่ายทอดมาสู่คนรุ่นหลัง ตามที่ได้บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ดึงกล่าวข้างต้น ในส่วนที่เกี่ยวกับครูน่าจะมีคำสำคัญ(Key word) อยู่ 2 คำ คือ มีการศึกษาดีชาติหนึ่ง และ มีการสั่งสอนอบรมและถ่ายทอดมาสู่รุ่นหลัง จากสำคัญดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่าชนชาติไทยมีครูมาตั้งแต่อดีต หรือครูได้อุบัติขึ้นมาพร้อมๆ กับการเกิดขึ้นของชนชาติไทย หรืออาจกล่าวโดยสรุปว่าครูไทยเกิดขึ้นในสมัยอาณาจักรน่านเจ้า ประกอบกับในสมัยนั้นไม่มีระบบโรงเรียน บุคคลที่ทำหน้าที่เป็น ครู คือ ผู้รอบรู้เรื่องขนบประเพณีและวัฒนธรรมของเผ่าพันธุ์ได้แก่ หัวหน้าของชุมชน หรือผู้นำครอบครัว  (เจริญ ไวรวัจนกูล. ม.ป.ป. : 17-18 ) ซึ่งบุคคลดังกล่าวคือผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นครูเพศชายล้วน ครูจำแนกออกเป็น 3 ระดับคือ                                                                                                                                      
      1.ตุ๊หลวง   คือ เจ้าอาวาส(เป็นผู้มีวิชาสูง มีความรู้ในวิชาหนังสือ) ทำหน้าที่เป็นครูใหญ่
      2.ตุ๊บาลก๋า คือ พระภิกษุที่มีพรรษาแกกว่า 5 พรรษาขึ้นไป ทำหน้าที่สอนหนังสือให้แก่พระภิกษุและสามเณรทั่วไป
      3. ตุ๊หนาน คือ พระภิกษุที่อ่อนพรรษา ทำหน้าที่สอนโยมวัด (ศิษย์วัด) หมายถึง เด็กที่พ่อแม่นำไปฝากเป็นศิษย์
     ดังนั้น ครูผู้สอนคือผู้บอกหรือให้ความรู้ หรือมีการสั่งสอน อบรม และถ่ายทอดมาสู่คนรุ่นหลัง เพื่อให้ลูกศิษย์ได้นำความรู้ต่างๆ ไปใช้ในการประกอบอาชีพ ไปใช้ในการประกอบอาชีพ และใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อยู่ปกติสุข
     สมัยสุโขทัย สันนิษฐานได้ว่ามีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นแล้วและมีนักวิชาการอยู่เป็นจำนวนมาก ดังที่เห็นได้จาการมีตัวอักษรไทยที่เรียกว่า ลายสือไทย ที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งในการศึกษาเล่าเรียน อบรม ถ่ายทอดความรู้  สำหรับจัดการศึกษาในสมัยนั้นคงจัดร่วมกันระหว่างรัฐกับวัด ซึ่งวัดเป็นศูนย์กลางแห่งประชาคม  โดยประชาคมเป็นได้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนอยู่ในตัวเสร็จ (กรมวิชาการม. 2504
: 1 อ้างถึงใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช . 2547 : 22)
     สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นดินแดนที่มีความเป็นเอกราชยาวนานมากกว่า 400 ปี ในยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเป็นอย่างมากในทุกๆ ด้าน  เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม การปกครอง และการศึกษา สำหรับชนชาติในเอเชียที่เข้ามาทำการติดต่อค้าขายและทำมาหากินประกอบด้วย จีน มลายู ญวน เขมร อินเดีย และอาหรับ เมื่อมาถึงในรัชกาลของพระราชาธิบดีที่ 2 มีชนชาติยุโรปเข้ามาติดต่อค้าขายและทำมาหากิน
ที่เป็นชาติแรก คือ โปรตุเกส และมีชาติอื่นๆ ตามมา เช่น ฮอลันดา ฝรั่งเศส เป็นต้น                      (วิทยาลัยครูสวนสุนันทรา. 2525 : 100)   
        ครูในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ พระภิกษุ ทำหน้าที่สำคัญในการให้การศึกษาแก่ยาวชนเนื่องจากวัดเป็นโรงเรียนสาธารณะประเภทเดียวเท่านั้น  นอกเหนือจากพระภิกษุแล้ว ผู้ที่เป็นครู ประกอบด้วย ปราชญ์ราชบัณฑิต ช่างวิชาชีพต่างๆ และบิดามารดา ในสมัยนี้มีการจัดตั้งโรงเรียนมิชชันนารีซึ่งเป็นโรงเรียนที่ชาวตะวันตกได้เข้ามาสร้างไว้เพื่อเผยแผ่ศาสนา และขณะเดียวกันทำการสอนวิชาสามัญไปด้วย ดังนั้น บุคคลที่มาเป็นครูในสมัยนี้มีเพิ่มขึ้นอีกประเภทหนึ่ง คือ มิชชันนารี นับได้ว่าครูชาวต่างประเทศเกิดขึ้นแล้วในไทย ตามหลักฐานทางการศึกษาที่กล่าวไว้ในหนังสือ ประวัติกระทรวงศึกษาธิการ 2435-2507 เขียนโดย กระทรวงศึกษาธิการได้ระบุว่าสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช การศึกษาเจริญก้าวหน้ามาก มีพวกสอนศาสนาชาวต่างชาติมาตั้งโงเรียนสอนภาษและศาสนา (กระทรวงศึกษาธิการ. 2507 : 2 อ้างถึงใน เจริญ ไกรวัจนกุล ม.ป..ป. : 44 )
      สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ถือได้ว่าเป็นการสิ้นการศึกษาไทยโบราณ ในส่วนของ  การจัดการศึกษาไม่แตกต่างไปจากกรุงศรีอยุธยา สำหรับในส่วนของครูขึ้นอยู่กับสำนักการศึกษา อาจเป็นพระภิกษุ ปราชญ์ราชบัรฑิต ช่างวิชาชีพต่างๆ บิดามารดา และพวกมิชชันนารีสำหรับมิชชันนารี              วิทย์ วิศทเวทย์ (2555 : 50) ได้กล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. 2391 นางแมตตูน เป็นมิชชันนารีชาวอเมริกันได้รับเด็กชาวมอญมาสอนหนังสือให้
     2. ครูยุคการศึกษาไทยในสมัยปฏิรูปการศึกษา
           (พ.ศ.2414-2474)
      การศึกษาของไทยในสมัยปฏิรูปการศึกษา อันเป็นผลเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปต่างประเทศทั้งในเอเชียและยุโรป พระองค์ท่านจึงนำแนวความคิดมาใช้เพื่อปฏิรูปการศึกษา และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาบ้านเมือง                                                                             จึงได้มีการจัดตั้งโรงเรียน (สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา 2539 : 57)
         การศึกษาของไทยในสมัยปฏิรูปการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับครูมีการพัฒนา ดังนี้
         พ.ศ.2414 ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง โดยมีพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจาริยางกูล)ในขณะที่เป็นหลวงสารประเสริฐเป็นอาจารย์ใหญ่ และมีการจัดตั้งโรงเรียนประเภทอื่นๆ เช่น โรงเรียนหลวงสำหรับสอนภาษาอังกฤษในพระบรมมหาราชวัง
        พ.ศ.2427 ทรงตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นตามวัดในกรุงเทพหลายแห่ง แห่งแรกคือโรงเรียนวัดมหรรณพาราม
        พ.ศ.2435 ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูเป็นแห่งแรกที่ตำบลโรงเลี้ยงเด็ก ต่อมาย้ายไปอยู่ที่วัดเทพศิรินทร์
        พ.ศ.2437 นั่งเรียนฝึกหัดครูยุคแรก 3 คน สำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพครู                     สอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
        พ.ศ.2449 ยกระดับโรงเรียนฝึกหัดครู โดยปรับปรุงหลักสูตรให้สูงขึ้นเป็นโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์สอนหลักสูตร 2 ปี รับนักเรียนที่สำเร็จมัธยมศึกษา
        พ.ศ.2450 ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูหญิงขึ้นเป็นครั้งแรกที่โรงเรียนเบญจมราชาลัยอนึ่ง ใน พ.ศ.2414        นั้น ได้มีพระบรมราชโองการตั้งโรงเรียน ซึ่งประกาศ ณ วันพฤหัสบดี เดือนอ้าย แรม 3 ค่ำ ปีมะแม พ.ศ.2414 จึงทำให้มองเห็นระบบโรงเรียนได้ 6 ประการ มีอยู่ 2 ประการที่เกี่ยวข้องกับครูอย่างชัดเจนคือ                              (เจริญ ไกรวัจนกูล. ม.ป.ป.
: 64)
       1) โรงเรียนแห่งแรกที่สอนหนังสือไทยตั้งขึ้นในพระบรมมหาราชวัง มีขุนนางและเจ้าพนักงานจากกรมพระอาลักษณ์ทำหน้าที่เป็นครูสอน
       2) ผู้เป็นครูเป็นข้าราชการ มีเงินเดือน ผู้เรียนมีเสื้อผ้าและอาหารกลางวันพระราชทาน
พ.ศ.2461 ปรับปรุงและขยายการฝึกหัดครู โอนกลับมาขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเดิมเป็นแผนหนึ่งของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน
        สำหรับในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยมีปัญหาภายในหลายประการ อาทิเช่น ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นทั่วทั้งภายในประเทศ อันเนื่องจากมีการตื่นตัวทางการเมือง ปัญหาอิทธิพลจักรวรรดินิยมตะวันตก ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และปัญหาจาการประกาศใช้กฎหมายการศึกษา คือ พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการประถมศึกษา ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกิดจากขาดความพร้อมทางด้านงบประมาณการศึกษา และมีปัญหาอื่นๆ เป็นตัน ในส่วนที่เกี่ยวกับครูไม่มีการเปลี่ยนแปลง
      
       3. ครูยุคการศึกษาไทยในสมัยไทยในสมัยการปกครองระบอบประชาธิไตย (พ.ศ.2475-2487)
       เนื่องด้วยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยบุคคลคณะหนึ่ง เรียกว่าคณะราษฎร์”                        เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว อุดมการณ์ของคณะราษฎร์ที่มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาประเทศ เรียกว่า หลัก 6 ประการ
       สำหรับในประการที่ 6 มีความว่าจะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร ในส่วนที่เกี่ยวกับครู พบว่าในปี พ.ศ.2484 มีการจัดตั้งกองฝึกหัดครูในกระทรวงธรรมการ (วิทยาลัยครูสวนสุนันทา 2525 : 107-3108 และสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา 2539 : 55-62)
        
4. ครูยุคมีพระราชบัญญัติก่อนมีใบประกอบวิชาชีพ(พ.ศ.2488-2545)
         พัฒนาการของครูในยุคนี้เป็นยุคที่มีกฎหมายเป็นของตนเอง มีศักดิ์ของอาชีพที่จะทำภารกิจตามบทบาท หน้าที่ และสิทธิต่างๆ ภายใต้ของการรับรองของกฎหมายครูโดยเฉพาะสถานภาพของครูในช่วงระหว่างเวลาดังกล่าวมีการพัฒนาการ ดังต่อไปนี้
      4.1 พระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 ได้บัญญัติสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของครู ดังนี้
      4.1.1 ให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการ เรียกว่า
คุรุสภาและให้สภานี้เป็นนิติบุคคล (มาตรา 4)
      4.1.2 คุรุสภามีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับครู ดังนี้
               4.1.2.1 ควบคุมและสอดส่องจรรยามรรยาทและวินัยครู พิจารณาโทษครู ผู้ประพฤติผิด และพิจารณาคำร้องทุกข์ของครู
              4.1.2.2 พิทักษ์สิทธิ์ของครูภายในที่กฎหมายกำหนด
              4.1.2.3 ส่งเสริมให้ครูได้รับสวัสดิการต่างๆ ตามสมควร
              4.1.2.4 พัฒนาความรู้ ความสามารถ คุณภาพ และประสิทธิภาพของครู (มาตรรา 6)
     4.1.3 ครูตามมาตรา 24 ได้เป็นกรรมการอำนวยการคุรุสภา จำนวน 10 คน มีการจัดสรรออกเป็นครูตามมาตรา 24 ประกอบด้วย
              (1) จำนวน  6  คน
              (2) จำนวน  1  คน    
              (3) จำนวน  1 คน                                                                                      (4) จำนวน  2   คน
 4.1.4 กำหนดให้ครู ได้แก่ (มาตรา 24 )
              4.1.4.1  ข้าราชการครู (มาตรา 24 (1))
              4.1.4.2 พนักงานเทศบาล (มาตรา 24 (3))
              4.1.4.3 ข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้สอนประจำในสถาณศึกษาของกรุงเทพมหานคร (มาตรา 24/4)
              4.1.4.4 ผู้ทำการสอนในสถาณศึกษาที่อยู่ในความควบคุม ของกระทรวงศึกษาธิการ และได้รับการเงินเดือนประจำ ข้อความนี้ หมายถึง  ครูโรงเรียนราษฎร์ หรือโรงเรียนเอกชน (มาตรา 24 (5))
              4.1.4.5 ครูต้องเป็นสมาชิกของครุสภา (มาตรา 26 )
              4.1.4.6 กำหนดให้ครูต้องมีจรรยาและมารยาทอันดีงาม และครูต้องอยู่ในวินัยตามระเบียบ ประเพณีของครูตามที่ครุสภาได้วางไว้  และตามระเบียบของสภาที่เกี่ยวกับจรรยามารยาทและวินัย (มาตรา 29,30 และ31
    4.2 พระราชบัญญัติคณะกรรมการการประถมศึกษา พ.ศ. 2523 ได้บัญญัติสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของครู ดังนี้
            4.2.1 ได้ให้ความหมาย “ข้าราชการครู”  หมายความว่า  ข้าราชการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ (มาตรา 3)
            4.2.2 ในคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติมีข้าราชการครูรวมอยู่ด้วย ซึ่ง เป็นข้าราชการครูผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราชการครู จำนวน  12 คน (มาตรา 5) ในคณะกรรมการ การประถมศึกษาจังหวัดที่เป็นข้าราชการครุ สังกัดสำนักงานการปฐมศึกษาจังหวัด  ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราชการครู  ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนข้าราชการครูทางกลุ่มโรงเรียนภายในเขตอำเภอกลุ่มโรงเรียนละ 1 คน (มาตรา 23 )  ในทุกคณะกรรมการมมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี
       
   5. ครูยุคมีใบประกอบวิชาชีพครู (พ.ศ. 2546)
        สำหรับในยุคครูสมัยมีใบประกอบวิชาชีพ เป็นยุคที่อาชีพครูได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก        อันเป็นผลเนื่องมาจากการวิเคราะห์ลักษณะงานของครูตามบทบาท หน้าที่  ซึ่งลักษณะงานดังกล่าวไปสอดคล้องกับลักษณะของงานวิชีพต่างๆที่เป็นวิชาชีพสูง  จึงได้มีการยกระดับอาชีพครูเป็นวิชาชีพ โดยได้ตราพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ซึ่งได้บัญญัติสาระสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของอาชีพครูไปสู่ความเป็นวิชาชีพครู ดังนี้
         5.1  จัดให้มีการยกเลิกพระราขบัญญัติครู  ตั้งแต่พุทธศักราช 2488 ถึง 2523 รวม 6 ฉบับ             (มาตรา 3 )
         5.2 ได้บัญญัติคำว่า “วิชาชีพ” และให้ความหมายของคำว่า “ครู” ซึ่งพัฒนาจากยุคที่ 4 คือ ยุคครูสมัยมีพระราชบัญญัติก่อนมีใบประกอบวิชาชีพ (พุทธศักราช 2488-2545) สำหรับคำนิยามของคำว่า “วิชาชีพครู” และ “ครู”  ดังนี้
         5.2.1 “วิชาชีพ” หมายความว่า วิชาชีพทางการศึกษาที่ทำหลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีต่างๆ รวมทั้งการรับผิดชอบการบริหารสถาณศึกษาในสถาณศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน และการบริหารการศึกษานอกสถาณศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา  สนันสนุนการศึกษาให้บริการหรือปฏิบัตรงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ  และการบริหารการศึกษา
ในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
           5.2.2  “ครู”  หมายความว่า   บุคคลที่ประกอบอาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ  ในสถาณศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และ อุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
            5.3  ได้บัญญัติให้มีสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกว่า “ครุสภา” มีกฎระเบียบอยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ (มาตรา 7 )
            5.4 คุรุสภามีสถาณภาพเป็นองค์กรวิชาชีพครู โดยกำหนดให้คุรุสภามีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
            5.4.1 กำห นดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับการดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ  รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
            5.4.2   กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
            5.4.3 ประสาน ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัย ที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ (มาตรา 8 )
   5.5 คุรุสภามีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
             5.5.1 กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
             5.5.2 ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา               ให้เป็นไปตาม  
       
 มาตราฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
             5.5.3 ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ
             5.5.4 พักใช้ใบอนาติหรือเพิกถอนมบอนุญาติ
             5.5.5 สนันสนุน ส่งเสริม และพัฒนาวิชาชีพตามมาตราฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ
             5.5.6 ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง และผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
             5.5.7 รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบันต่างๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
             5.5.8 รับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ รวมทั้งความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
             5.5.9 ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ                                             
             5.5.10 เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย       
             5.5.11 ออกข้อบังคับของคุรุสภาว่าด้วย
            1) การกำหนดลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 13
            2) ออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต และการรับรองความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
            3) หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต
            4) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต
            5) จรรยาบรรณของวิชาชีพ และการประพฤติผิดจรรยาบรรณ อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
            6) มาตรฐานวิชาชีพ
            7) วิธีการสรรหา การเลือก การเลือกตั้ง และการแต่งตั้งคณะกรรมการ  คุรุสภา และคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
             8) องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา
             9) หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเลขาธิการคุรุสภา
             10) การใด ๆ ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
         5.5.12 ให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายหรือปัญหาการพัฒนาวิชาชีพ
         5.5.13 ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพหรือการออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศต่าง ๆ
         5.5.14 กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อการกระทำใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา
         5.5.15 ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา
          ข้อบังคับของคุรุสภา (มาตรา 11) นั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
          5.6 ในกรรมการที่มาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครู ได้กำหนดคุณสมบัติเป็นการเฉพาะไว้ ดังนี้
              5.6.1 เป็นผู้มีใบอนุญาต และไม่เคยถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาติตามพระราชบัญญัตินี้
              5.6.2 เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้วรวมกันไม่น้อยกว่าสิบปีหรือดำรงตำแหน่งอาจารย์ 3 หรือมีวิทยฐานะเป็นครูชำนาญการขึ้นไป (มาตรา 14)
          5.7 ในคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ มีจำนวน 17 คน ซึ่งมาจากบุคคลจำนวน 6 กลุ่ม กรรมการที่มาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา จำนวน 6 คน เมื่อคิดคำนวณเป็นสัดส่วน คือ 1 ใน 3 ซึ่งทำให้กลุ่มนี้มีบทบาทมากในคณะกรรมการดังกล่าว (มาตรา 12)
          5.8 คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
              5.8.1 พิจารณาการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต
              5.8.2 กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
              5.8.3 ส่งเสริม พัฒนา และเสนอแนะคณะกรรมการคุรุสภากำหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ
              5.8.4 ส่งเสริม ยกย่อง และพัฒนาวิชาชีพไปสู่ความเป็นเลิศในสาขาต่าง ๆ ตามที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
             5.8.5 แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ หรือมอบหมายกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อกระทำใด ๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
             5.8.6 ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
            5.8.7 พิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการคุรุสภามอบหมาย (มาตรา 25)
           5.9 ให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพควบคุม ทั้งนี้ มิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุมไม่ได้รับอนุญาต                (มาตรา 43)
          5.10 ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งถูกสั่งเพิกถอนจะยื่นขออีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นห้าปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอน (มาตรา 57)
          5.11 ในพระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีจำนวน 23 คน จากบุคคลจำนวน 5 กลุ่ม ทั้งนี้ กรรมการที่ได้รับการคัดเลือก       ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา จำนวน 12 คน เป็นจำนวนกึ่งหนึ่งของกรรมการ
ทังหมด เป็นกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทมากในคณะกรรมการคณะนี้ และกำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคคลทางการศึกษา(มาตรา 60,64,67)
5.12 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคลการกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
         5.12.1  รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลาการทางการศึกษา
          5.12.2 ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับกิจการอื่นที่คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลาการทางการศึกษามอบหมาย
          5.12.3  จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการดำเนินงานเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลาการทางการศึกษา (มาตรา 67 )

6. ครูยุคมีความรุ่งโรจน์แห่งวิชาชีพครู (พ.. 2547- ปัจจุบัน)
เนื่องด้วยได้มีพระราชบัญญัติมีระเบียบข้าราชการครูและบุคลาการทางการศึกษา พ..2547 เป็นพระราชบัญญัติที่ทำให้ครู มีความรุ่งโรจน์แห่งวิชาชีพครู ซึ่งได้บัญญัติมาตราต่างๆ ที่ได้ชี้ให้เห็นถึง                  ความรุ่งโรจน์แห่งวิชาชีพครู ดังนี
   6.1 ได้ให้นิยามศัพท์ คำว่า
          6.1.1 “ข้าราชการครูและบุคลาการทางการศึกษา”
          6..1.2 “ข้าราชการครู”
          6.1.3 “วิชาชีพ” (มาตรา 4 )
      6.2 ในคณะกรรมการบริหารงานบุคลากรของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีกรรมการที่เป็นผู้แทนข้าราชการครู จำนวน 4 คน จากจำนวนคณะกรรมการทั้งหมด 21 คน: มาตรา 7(5)
      6.3 มีการกำหนดตำแหน่งวิทยฐานะและการให้ได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่ง  ทีกำหนดให้มีตำแหน่งครูผู้ช่วยและครูที่เป็นข้าราชการครู: มาตรา 38 (ก)
      6.4 ให้ตำแหน่งข้าราชการครูเป็นตำแหน่งที่มีวิทยฐานะ ในส่วนของครูมีวิทยฐานะ ดังนี้
               6.4.1 ครูชำนาญการ
               6.4.2 ครูชำนาญการพิเศษ
               6.4.3 ครูเชี่ยวชาญ
               6.4.4 ครูเชี่ยวชาญพิเศษ
6.5 ข้าราชการครูมีวินัยและรักษาวินัย (มาตรา 82- มาตรา 94 )


6.6 การเทียบตำแหน่งข้าราชการครูมีวิทยฐานะกับระบบชีของราชการ สามารถแสดงได้ดังตาราง 3.1
ตารางที่ 3.1
ตำแหน่งครูที่มีวิทยฐานะ
ระบบชี
ครูชำนาญการ
ครูชำนาญการพิเศษ
ครูเชี่ยวชาญ
ครูเชี่ยวชาญพิเศษ
6-7
8
9
10-11

6.7 เมื่อตำแหน่งข้าราชการครูได้ปรับเข้สู่เงินเดือน หลังจากวันที่ 24 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป สมารถแสดง ได้ดังตารางที่ 3.2
ตารางที่ 3.2 แสดงแท่ง คศ.(ครูและบุคลากรทางการศึกษา) เทียบชีและตำแหน่งเดิมเป็นเงินวิทยฐานะ
ที่
แท่ง คส.(ครูและบุคลากรทางการศึกษา)
เทียบชีและตำแหน่งเดิม
เงินวิทยฐานะ
1
2
3
4
5
แท่ง คศ.1
แท่ง คศ.2
แท่ง คศ.3
แท่ง คศ.4
แท่ง คศ.5
-ครูผู้ช่วย ชี 6 ลงมา
-ชี 6-7 อาจารย์ 2 อาจารย์ 2 ระดับ6-7
-ชี 8 อาจารย์ 3 อาจารย์ ระดับ6-8
- ชี 9 อาจารย์ 3 ระดับ 9
-ชี 10-11
-ไม่มีเงินวิทยฐานะ
-มีเงินวิทยฐานะ 35005บาท(ตาม พ.ร.บ.ครูฯ 2547)
-มีเงินวิทยฐานะ 5,600 บาท
-มีเงินวิทยฐานะ 9,900     บาท
-มีเงินวิทยฐานะ  13,000    บาท






 สรุป


     การพัฒนาครูสู่ครูมืออาชีพ  เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเจริญขึ้นในวงการของครู ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับชนชาติไทยในสมัยโบราณ ครู คือ หัวหน้าชุมชน  หัวหน้าหมู่บ้าน  ที่ทำการสอนให้บรรดาสมาชิกให้มีความรู้เพื่อดำรงชีพอย่างปกติสุขในเวลาต่อมาเมื่อชนชาติไทยได้เป็นปึกแผ่นมากขึ้น  ประกอบกับมีความผูกพันอยู่กับศาสนาพุทธ  บุคลากรหลักทางด้านการสอน  คือ  พระภิกษุ  ครั้นเมื่อประเทศไทยได้มีความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  โดยเฉพาะชาติตะวันตก จึงทำให้เกิดผู้สอนอีกกลุ่มหนึ่ง       คือ  มิชชันนารี  ที่เข้ามาตั้งโรงเรียนในประเทศไทยจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ไทยต้องปฏิรูปการศึกษาในปัจจัยสำคัญคือ ครู การปฏิรูปครูได้มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู  ให้ผู้ที่ทำหน้าที่ครูได้เป็นข้าราชการ  และอาชีพครูได้รับการยอมรับของประเทศไทย  โดยการตราพระราชบัญญัติครูเป็นครูในครั้งแรกในปีพุทธศักราช  2488  จึงทำให้ครูได้พัฒนามาเป็นลำดับได้บังเกิดเป็นเกียรติยศแห่งวงการครู  ที่ได้รับการยอมรับยกระดับอาชีพครูขึ้นเป็นวิชาอาชีพครูซึ่งเป็นวิชาชีพขั้นสูงและวิชาชีพควบคุม